วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

15 พฤศจิกายน:


พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - สันนิบาตชาติจัดประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรก
พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังเสด็จขึ้นครองราชย์ ขณะมีพระชนมายุ 13 พรรษา เสด็จฯ ทางเรือถึงเกาะสีชัง ก่อนประทับเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่กรุงเทพฯ ที่ท่าราชวรดิษฐ
พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - ผู้ชุมนุมนับแสนรวมตัวกัน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อต่อต้านสงครามเวียดนาม
พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - อินเทลเปิดตัว Intel 4004 (ในภาพ) ไมโครโพรเซสเซอร์แบบชิปเดี่ยวรุ่นแรกของโลก

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

14 พฤศจิกายน

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง, วันเบาหวานโลก
พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด การประปากรุงเทพฯ (ปัจจุบัน คือ การประปานครหลวง) ดำเนินงานโดยกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล
พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิด 500 ลำของเยอรมนี ถล่มเมืองโคเวนทรีในแคว้นอังกฤษ
พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เยือนพสกนิกรในภาคอีสาน ทรงพบว่าราษฎรประสบปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้ง จึงมีพระราชดำริแก้ปัญหาด้วยการสร้างฝาย และใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝน นับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฝนหลวง
พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ยานมาริเนอร์ 9 เดินทางถึงดาวอังคาร เป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่น
พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เยอรมนีแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้แนวโอเดอร์-ไนเซ เป็นเขตแดนระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

13 พฤศจิกายน:

พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) - รพินทรนาถ ฐากูร (ในภาพ) กวีชาวอินเดีย ได้รับการประกาศให้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในฐานะเป็นผู้ประพันธ์และแปลหนังสือรวมบทกวี "คีตาญชลี" เป็นภาษาอังกฤษ นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - พายุไซโคลนถล่มปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบัน คือ บังกลาเทศ) ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 500,000 คน (เป็นภัยพิบัติจากพายุไซโคลนที่รุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20)
พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ภูเขาไฟเนวาโดเดลรีซปะทุ ทำให้เกิดเศษหินภูเขาไฟถล่มในเมืองอาร์เมโร ประเทศโคลอมเบีย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 23,000 คน
พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - เว็บเพจแรก [1] ถูกสร้างขึ้น

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

12 พฤศจิกายน: วันลอยกระทง

พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) - วันเกิด ดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติและประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน
พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - สะพานซานฟรานซิสโก-อ่าวโอกแลนด์ในแคลิฟอร์เนีย เปิดการจราจร
พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - โครงการวอยเอเจอร์: ยานวอยเอเจอร์ 1 ขององค์การนาซา เข้าใกล้ดาวเสาร์มากที่สุด
พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ทหารอินโดนีเซีย เปิดฉากยิงนักศึกษาผุ้ชุมนุมเรียกร้องแบ่งแยกติมอร์ตะวันออก ในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่ดิลี
พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - กองกำลังตาลีบันผละออกจากคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ก่อนที่ทหารพันธมิตรฝ่ายเหนือจะเดินทางไปถึง

11 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2218 (ค.ศ. 1675) – กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ แสดงการใช้แคลคูลัสเชิงปริพันธ์ในการคำนวณพื้นที่ใต้กราฟของฟังก์ชัน y = f (x) โดยใช้ปฏิยานุพันธ์เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) – สหรัฐอเมริกาผนวกวอชิงตันเป็นมลรัฐที่ 42
พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า และวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ซึ่งจัดขึ้นในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 40 ปี ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ขณะนั้น
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) – เอียน สมิท นายกรัฐมนตรีแห่งโรดีเซียใต้ คราวน์โคโลนีของสหราชอาณาจักร ประกาศเอกราชฝ่ายเดียว
พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – อิบราฮิม นัสเซอร์ (Ibrahim Nasir) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ หลังลงนามในข้อตกลงร่วมกันกับข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำศรีลังกาเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เพื่อแยกหมู่เกาะมัลดีฟส์ให้ได้รับอิสระในการปกครองจากสหราชอาณาจักร

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

10 พฤศจิกายน


พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) – จักรพรรดิฮิโรฮิโต (ในภาพ) เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น พระองค์ที่ 124
พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) – ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ประเทศไทย หลังการเรียกร้องขอคืนจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – จอห์น โฮเวิร์ด ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ของประเทศออสเตรเลีย

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

9 พฤศจิกายน:

วันเอกราชในกัมพูชา (พ.ศ. 2496)
พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ทำลายอาคารบ้านเรือนไปกว่า 700 หลังคาเรือนในบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) - เปิดใช้ประภาคารสันดอน เป็นประภาคารสมัยใหม่แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ชื่อว่า "Bar of Regent Lighthouse" เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - ปฏิบัติการสังหารหมู่ชาวยิวครั้งมโหฬารโดยนาซีเยอรมัน ที่เรียกว่า Kristallnacht เริ่มต้นขึ้น
พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุเป็นประมุข
พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เยอรมนีตะวันออกเปิดกำแพงเบอร์ลิน ให้สามารถเดินทางผ่านได้โดยเสรี เป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดของสงครามเย็น นำไปสู่การยุติสนธิสัญญาวอร์ซอ และเป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

8 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) – รัฐบาลคณะปฏิวัติเปิดพระราชวังลูฟร์ (Louvre) ให้ประชาชนเข้าชมในฐานะพิพิธภัณฑ์ สิ่งจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ จัดว่ามีทั้งจำนวนและคุณค่ามหาศาล
พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) – วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) – วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ค้นพบรังสีเอกซ์
พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 : พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นำการรัฐประหารยึดอำนาจนายกรัฐมนตรี พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏสันติภาพ
พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – เหตุการณ์หัวรถจักรผีสิงพุ่งชนสถานีหัวลำโพง พ.ศ. 2529 : หัวรถจักรจำนวน 6 คันจากสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อซึ่งไม่มีคนขับ พุ่งเข้าชนสถานีรถไฟหัวลำโพง มีผู้เสียชีวิต 5 คน สาเหตุเกิดจากความสะเพร่าของพนักงานขับรถ
พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านความเห็นชอบข้อมติ 1441 บังคับให้อิรักปลดอาวุธ